มหาชาติ เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ
อ่านเพิ่ม
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม
ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ
ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
อ่านเพิ่ม
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง
ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย
แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม
อ่านเพิ่ม
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต”เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ อ่านเพิ่ม
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนริทร์คำโคลง เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์
มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การกล่าวคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก
ด้วยสำนวนโวหารอันไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์ นิราศนริทร์จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง
อ่านเพิ่ม
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ นิทานเวตาล เรื่องที่๑๐
นิทานเวตาล
ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
อ่านเพิ่ม
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ อิเหนาตอนศึกกระหมังกุหนิง
อิเหนา เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ
เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา ทั้งความไพเราะ ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน
และยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ
อ่านเพิ่ม
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ คำนมัสการคุณานุคุณ
คำนมัสการคุณานุคุณ ผลงานการประพันธ์ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทยตั้งอยู่ในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อ่านเพิ่ม
วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558
บทนำ การวิจักษ์วรรณคดี
คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ
ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด
มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร
มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด
เป็นต้น ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน
อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี
ซึ่งมีอยู่หลายระดับ
ในระดับต้นๆ
เป็นการบอกกล่าวความคิดเห็นส่วนตัวว่าชอบหรือไม่ชอบเรื่องที่อ่านอย่างไร บางครั้งอาจจะติชมว่าดีหรือไม่ดีด้วยแต่ผู้อ่านที่ดีจะต้องไม่หยุดอยู่เพียงนั้น ควรจะถามตนเองต่อไปว่าที่ชอบหรือไม่ชอบ
และที่ว่าดีหรือไม่ดีนั้นเพราะเหตุใด อ่านเพิ่ม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)